สอศ.-ยูนิเซฟ จับมือเดินหน้าใช้ Social Innovation Toolkit เสริมทักษะครู-นักเรียน แก้ปัญหาสังคม ปั้นกำลังคนคุณภาพยุคใหม่ สู่ศตวรรษที่ 21

เมื่อวันที่ 3 ก.พ. ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมกับ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เดินหน้าพัฒนาการศึกษาอาชีวศึกษาไทย จัดการประชุมประเชิงปฏิบัติการการประเมินผลการใช้ Rubric Assessment ภายใต้โครงการ ”การขยายผลและประเมินผลการใช้ชุดสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคม (Social Innovation Toolkit) ระดับครูผู้สอนในระบบอาชีวศึกษา” โดย ยูนิเซฟ ประเทศไทย ได้ส่งมอบ “ชุดสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคม (Social Innovation Toolkit)” ให้ สอศ. แล้ว จำนวน 10000 ชุด เพื่อแจกให้กับสถานศึกษาในสังกัด สอศ. ทั่วประเทศ ซึ่งมีสถานศึกษานำร่อง 10 แห่ง ได้เรียนรู้การใช้งานเครื่องมือ และขยายผลการใช้งานให้กับครูในสถานศึกษา 68 แห่ง

สำหรับในปีนี้ สอศ.และ ยูนิเซฟประเทศไทย ยังร่วมกันวางแผนขยายโครงการต่อเนื่อง แบ่งการดําเนินการเป็น 4 กิจกรรม คือ 1. กระจายชุดสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคม (Social Innovation Toolkit) ให้แก่ สถานศึกษาในสังกัด สอศ. ในสถานศึกษา 68 แห่ง ๆ ละ 30 ชุด เมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา จากการขยายผลการใช้งานของสถานศึกษานำร่อง 10 แห่ง 2. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการประเมินผลการใช้ Rubric Assessment ให้แก่ครูที่ได้รับการขยายผลการใช้ชุดสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคม (Social Innovation Toolkit) ซึ่งเป็นจัดขึ้นในครั้งนี้ โดยแบ่งเป็นการอบรมเป็น 2 รุ่น รวมจำนวน 80 คน จากสถานศึกษาที่ได้รับการขยายผล จำนวน 68 แห่ง
3. การติดตามผลใน 10 สถานศึกษานำร่องที่ขยายผลสู่ครูในสถานศึกษา อื่นๆ และ 4. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการใช้ชุดสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคม (Social Innovation
Toolkit) ให้แก่ศึกษานิเทศก์และสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 8 แห่ง ในระยะต่อไป ซึ่งครูที่เข้ารับการประเมินฯ ยังสามารถนำเครื่องมือ Rubric Assessment ไปใช้เพื่อวัดผลและพัฒนาทักษะของนักเรียนได้อย่างแม่นยำ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน และทักษะความสามารถเชิงสมรรถนะ (Soft Skills) ทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานและการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21

“Social Innovation Toolkit เป็นชุดเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักเรียน ฝึกทักษะการแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม ความคิดสร้างสรรค์ และการสื่อสาร จึงเป็นทักษะที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน มี 6 ขั้นตอนพัฒนา ได้แก่ 1.ทำความเข้าใจ (Empathize) 2. หาความจริง (Define) 3.เสนอความคิด (Ideate) 4. ทำต้นแบบ (Prototype) 5.ทดสอบไอเดีย (Test) 6. ขยายผลการทำงาน (Scale up) และสนับสนุนหลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency-Based Curriculum) ที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ ให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง” ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาอาชีวศึกษาไทย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและอาชีพให้กับคนรุ่นใหม่ พร้อมปั้นแรงงานที่มีศักยภาพเข้าสู่ตลาดงานได้อย่างมั่นใจ
ในส่วนการประชุมเชิงปฏิบัติการการประเมินผลการใช้ Rubric Assessment แบ่งออกเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 - 4 ก.พ. และรุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 5 - 6 ก.พ. ที่สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา กรุงเทพฯ และมีวิทยากรจาก องค์การ ยูนิเซฟ ประเทศไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหน่วยศึกษานิเทศก์ สอศ. ที่ให้การสนับสนุนการให้ความรู้การใช้เครื่องมือ จัดโดยสำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา
#สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) #องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย# ชุดสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคม (Social Innovation Toolkit)